กระดูกอ่อนปลาฉลาม มีประโยชน์จริงหรือไม่

ภาพรวมเนื้อหา

กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark cartilage) เป็นเนื้อเยื่อที่รองรับครีบของปลาฉลาม มีสีขาว มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่ปี 2513 จนทำให้ฉลามถูกล่าจนทำให้ฉลามบางชนิดกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์

กระดูกอ่อนปลาฉลามเป็นที่นิยมเนื่องจากความเข้าใจผิดในช่วงแรก ที่คิดว่าฉลามไม่เป็นมะเร็ง น่าจะมีประโยชน์กับมนุษย์ในการป้องกันมะเร็ง แต่ในช่วงหลังก็มีหลักฐานที่ชัดเจนแล้วว่า ฉลามก็สามารถเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้กระดูกอ่อนปลาฉลามเพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน โรคข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าอักเสบ และอาการอื่นๆ แต่ยังไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน

shark
Image by Freepik

ส่วนประกอบและประโยชน์

กระดูกอ่อนปลาฉลามมีส่วนประกอบดังนี้

  • มิวโคโพลีแซคคาไรด์ – เป็นคาร์โบไฮเดรตที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อยู่ในเซลล์ที่ช่วยสร้างกระดูก กระดูกอ่อน เส้นเอ็น กระจกตา ผิวหนัง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน นอกจากนี้ยังพบได้ในน้ำหล่อลื่นข้อต่อ
  • แคลเซียม – ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีความสำคัญในการแข็งตัวของเลือด ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัว และช่วยให้หัวใจและเส้นประสาททำงานได้เป็นปกติ
  • ฟอสฟอรัส – เป็นองค์ประกอบของกระดูก ฟัน และเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยกระตุ้นการทำงานของไอนไซม์ และรักษาสมดุลค่า pH ของเลือด

อันตรายและข้อควรระวังของกระดูกอ่อนปลาฉลาม

การทาน – กระดูกอ่อนปลาฉลามสามารถทานติดกันได้นานถึง 40 เดือน อย่างปลอดภัย แต่อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและท้องผูกได้ นอกจากนี้กระดูกอ่อนปลาฉลามยังมีแคลเซียมสูง ถ้าเรามีระดับแคลเซียมในร่างกายสูงอยู่แล้ว ให้หลีกเลี่ยงการใช้กระดูกอ่อนปลาฉลาม

การใช้กับผิวหนัง – สามารถใช้กับผิวหนังได้นานถึง 8 สัปดาห์

การใช้ในคนท้อง – ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอที่จะบอกว่าการใช้กระดูกอ่อนปลาฉลามปลอดภัยกับคนท้องหรือกำลังให้นมบุตรหรือเปล่า

การใช้ในคนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง – กระดูกอ่อนปลาฉลามอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมาขึ้น จนเกิดผลเสียต่อผู้ที่เป็นโรคนี้ได้

Experts

Experts

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความงาม ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตัวเอง การดูแลผิวพรรณให้ดูอ่อนกว่าวัย สุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอกในทุกๆช่วงอายุ

Search